บริษัทผลิตรถไฟ Kawasaki จำกัด Kawasaki
ก่อตั้งเมื่อ
ตุลาคม 2564
จำนวนพนักงาน
3,500 คน
ยอดขาย
126.6 พันล้านเย็นญี่ปุ่น (สำหรับปีงบประมาณ 2564)
ธุรกิจ
ออกแบบ พัฒนา ผลิต ซ้อมบำรุง ขายและให้เช่ายานพาหนะทางรถไฟ ระบบรถไฟ และชิ่นส่วน
ความยากลำบากในการเปิดใช้งานเขียนแบบและข้อมูลการสั่งซื้อทำให้เกิดปัญหาว่า บริษัทสั่งซื้อชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนน้อยกับซัพพลายเออร์ที่ถนัดงานที่มีความซับซ้อนมาก จนนำไปสู่ต้นทุนการสั่งซื้อที่สูงขึ้น
สามารถอ้างอิงจากออเดอร์ใกล้เคียงที่มีอยู่แล้ว ซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพสูงในการสั่งซื้อ
นับตั้งแต่การเริ่มการผลิตในปี 2449 บริษัทผลิตรถไฟ Kawasaki จำกัดได้อยู่ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนายานพาหนะทางรถไฟ ด้วยความสามารถพิเศษทางด้านเทคโนโลยีและการผลิตที่มีคุณภาพสูง บริษัทได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและอัปเกรดยานพาหนะทางรถไฟ และยังผลิตขบวนรถไฟอันเป็นสัญลักษณ์บางขบวน ผลงานของบริษัทมีบทบาทสสำคัญในระบบขนส่งสาธารณะในเมืองใหญ่ เช่น New York หรือ Washington
ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟชั้นนำ Kawasaki ใช้รูปแบบการผลิตที่รายละเอียดการออกแบบสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้า หลักการทำธุรกิจนี้ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการผลิต แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้จำนวนชิ้นส่วนที่จำเป็นเพิ่มขึ้น และสร้างความยากในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ การสร้างมาตรฐานการออกแบบ และลดต้นทุนได้กลายเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งทางด้านการบริหาร Kawasaki จึงก่อตั้งห้องส่งเสริม DTC ภายใต้แผนกควบคุมเทคโนโลยี
DTC ย่อมาจากคำว่า Design to Cost ได้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2563 เมื่อ Kawasaki ยังสังกัด Kawasaki Heavy Industries, Ltd. และหน้าที่ของ DTC คือหาช่องทางในการลดต้นทุนตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ ซึ่งมีบทบาทเหมือน “หน่วยรบพิเศษ” ที่ช่วยแก้ปัญหาจากมุมมอง VE/VA ตามที่นาย Shiraishi เจ้าหน้าที่จาก DTC ได้อธิบายไว้ DTC เป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา ตั้งแต่การออกแบบ วางแผนทางการเงิน จัดซื้อวัสดุ และกาารผลิต โดยให้ความสำคัญแก่นโยบายราคาในการวางแผนและบริหารต้นทุน
นาย Ashida เจ้าหน้าที่ดูแลการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อชิ้นส่วนได้ชี้แจงว่า จะมีการจัดตั้งทีมงานเฉพาะสำหรับแต่ละโครงการของลูกค้า โดยมีหน้าที่ออกแบบตามความต้องการของโครงการ รวมทั้งงานเขียนแบบสำหรับการประกอบและชิ้นส่วนแต่ละตัว และในขณะที่นักออกแบบต้องการอ้างอิงจากงานเขียนแบบเก่าที่ใกล้เคียง แต่ระบบปัจจุบันยังยากต่อการเข้าหาข้อมูลงานเขียนแบบและราคาที่เคยใช้งานมาแล้ว จนนำไปสู่การเลือก option ที่ไม่ดีพอและทำให้ราคาสูงเกินควร
และ ณ เวลานั้น บริษัทฯ ได้รับข้อเสนอจากพันธมิตรคู่ใจ CADDi เกี่ยวกับ CADDi Drawer โซลูชันระบบคลาวด์เพื่อช่วยใช้ประโยชน์จากข้อมูลงานเขียนแบบ ซึ่งสามารถอ่านและวิเคราะห์สัญลักษณ์และรูปภาพจากงานเขียนแบบประเภทต่าง ๆ เช่น PDF และ TIFF หลังจากที่อัปโหลดข้อมูลลงไปในระบบคลาวด์ ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลอย่างอิสระด้วยคีย์เวิร์ดผ่านกระบวนการประมวนผลข้อมูลที่ใช้งานง่าย นอกจากนั้น ผู้ใช้ยังสามารถเปิดดูงานเขียนแบบเก่าที่ใกล้เคียง และหากผู้ใช้อัปโหลดช้อมูลการสั่งซื้อลงไปด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงกับงานเขียนแบบด้วย
คณะกรรมการได้อนุมัติการใช้ CADDi Drawer เมื่อสิงหาคม 2566 ไม่นานหลังจากที่ CADDi Drawer ได้เปิดตัวในตลาด นาย Shiraishi เพิ่มเติมว่า ปัจจัยหลักของการตัดสินใจในครั้งนั้นคือความลำบากในการระบุงานเขียนแบบที่ใกล้เคียงสำหรับงานออกแบบรถ
ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยทดลองใช้ระบบบริหารงานเขียนแบบระบบหนึ่งมากก่อน แต่ระบบนั้นไม่อนุญาตการค้นหาด้วยตัวอักษรที่มีอยู่ในงานเขียนแบบ และจำนวนคีย์เวิร์ดก็จำกัดที่ตัวเลขของชิ้นส่วน เพราะชื่อของไฟล์ข้อมูลถูกบริหารด้วยตัวเลขของชิ้นส่วน นอกจากนั้น สำสรับโครงการที่อยู่ต่างประเทศ ตัวเลขของชิ้นส่วนมักเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งเมื่อมีการแก้ไข ซึ่งทำให้ยากต่อการคัดลอกข้อมูล รวมทั้งไม่สามารถเปิดใช้เวอร์ชันงานเขียนแบบแรก ๆ ได้
ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการที่ไม่สามารถอ้างอิงจากข้อมูลงานเขียนแบบเก่าและการสั่งซื้อที่เคยทำคือต้นทุนการออกแบบและจัดซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อนักออกแบบทำงานของตน อาจมีคำถามที่เกิดขึ้นในใจว่า “เคยมีงานเขียนแบบที่คล้าย ๆ แบบนี้ที่ไหนมาก่อน” และต้องพยายามค้นหาคำตอบจากคลังความจำของตนเอง และในเมื่อไม่สามารถค้นหางานเขียนแบบที่ต้องการนั้นในเวลาอันสั้น นักออกแบบบางคนตัดสินใจจะทำงานเขียนแบบใหม่จากเบอร์ศูนย์ เพราะอาจประหยัดเวลามากกว่า ส่งผลให้จำนวนงานเขียนแบบเพิ่มมากขึ้น
ในแผนกจัดซื้อ ทุกครั้งที่เจ้าหน้าสั่งผลิตชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ภายนอก จะประสบความลำบากในการเปิดใช้ข้อมูล แม้ในกรณีที่บริษัทเคยสั่งซื้อชิ้นส่วนที่ใกล้เคียงมาก่อน ส่งผลให้การสั้งซื้อแต่ละครั้งล้วนขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความรู้ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโดยตรงในการคัดเลือกซัพพลายเออร์และราคาการสั่งซื้อ นาย Ashida เล่าว่า “บางทีเราต้องการชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนน้อย แต่ดันไปสั่งผลิตกับซัพพลายเออร์ที่ถนัดงานที่มีความซับซ้อนสูง ส่งผลให้ราคาการผลิตสูงขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดที่สุดในโรงงานที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งมักจะมีการเปลี่ยนพนักงานอยู่บ่อยครั้ง”
และการกำเนิด CADDi Drawer คือสัญญาณบ่งชี้ถึงทางออกให้แก่ปัญหาเหล่านี้ ด้วยความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ CADDi Drawer มีฟังก์ชันเชื่อมโยงข้อมูลการสั่งซื้อ (ชื่อซัพพลายเออร์และจำนวนงานที่สั่งไว้) กับงานเขียนแบบแต่ละฉบับ ทุกครั้งที่มีการสั่งผลิตงานเขียนแบบใหม่ เจ้าหน้าที่สามารถค้นหางานเขียนแบบที่ใกล้เคียงจากคลังข้อมูลสะสม และอ้างอิงจากจำนวนงานรวมทั้งข้อมูลซัพพลายเออร์ นอกจากนั้น CADDi Drawer ยังช่วยระบุความยากง่ายของงานเขียนแบบแต่ละฉบับ ซึ่งช่วยให้บริษัทจัดรายการซัพพลายเออร์ตามความยากง่ายของงาน และคัดเลือกซัพพลายเออร์ที่เหมาะที่สุดสำหรับแต่ละงาน
สุดท้าย คำตอบสำหรับแผนการใช้งาน CADDi Drawer ต่อในอนาคตคือ “พวกเราไม่ได้ใช้ CADDi Drawer เพียงกับการคัดเลือกซัพพลายเออร์และลดต้นทุน แต่ยังใช้เพื่อการสร้างมาตรฐานการออกแบบ และพวกเราก็ใช้ CADDi Drawer กับบางโครงการที่อยู่ต่างประเทศมาแล้ว โดยพวกเราได้วางแผนขยายการใช้งานของ CADDi Drawer ในอนาคต และยังคงใช้เพื่อปรับปรุงงานออกแบบและจัดซื้อให้ดียิ่งขึ้น”
CADDi (Thailand) Co., Ltd. 9/52 Ramaland Building, 15th Floor, Rama 4 Road, Suriyawong, Bangrak, Bangkok 10500 Thailand
drawer_asean@caddi.jp
บริษัท แค้ดดิ (ไทยแลนด์) จำกัด 952 อาคารรามาแลนด์ ช้้นที่ 15 ถนนพระรามที่ 4 แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0105565183072
drawer_asean@caddi.jp